แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ความหมายและประเภทของข้อมูลและ
สารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ
วิธีการประมวลผลข้อมูล
ระดับของสารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ข้อมูลดิจิทัล
ระบบเลขฐาน
การแปลงค่าเลขฐาน
โปรแกรม Calculator
การกระทำทางตรรกศาสตร
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
บทบาทของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยความจำ
หน่วยแสดงผล
แบบทดสอบหลังเรียน
 
 

หน่วยความจำหลัก(Main Memory)
หน่วยความจำหลัก
  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่
                    -  ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
                    -  เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
                    -  ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
                    -  เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไข
เปลี่ยนแปลงได้อีก
                    -  อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

2. แรม
(RAM : Random Access Memory)


ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อนำไปประมวลผล
                    -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย  
                    -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
                    -  ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่องเพื่อใช้ในการประมวลผล
                    -  เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
                    -  สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
                    -  การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

หน่วยความจำประเภทแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น  2  ประเภท  ดังนี้
                - ดีแรมหรือไดนามิกแรม  มีลักษณะการทำงานที่มีการรีเฟรชกระบวนการทำงานอย่างอัตโนมัติ 
เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลให้คงอยู่
                - เอสแรมหรือสเตติกแรม  มีลักษณะการทำงานด้วยการเก็บข้อมูลและรีเฟรชข้อมูลเมื่อได้รับคำสั่ง เท่านั้น  ทำให้มีความสารถในการทำงานเร็วกว่าแบบดีแรม  แต่ปัจจุบันเอสแรมมีราคาแพงกว่าดีแรมมาก

3. หน่วยความจำซีมอส
                เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  ประเภทของ แป้นพิมพ์  จอภาพ  และเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์  หน่วยความจำซีมอสจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้ง บนเมนบอร์ด  ทำให้ข้อมูลที่บันทึกอยู่ไม่หายไปเมื่อปิดคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันชิป  (Chip)  ของหน่วยความจำหลักนิยมสร้างมาจากสารกึ่งตัวนำ
ทำให้มีขนาดเล็กราคาถูก  และสามารถเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
หน่วยความจำสำรอง
  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้
ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก
      อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่

            1. ฮาร์ดดิสก์  เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่ใช้บันทึกข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
จึงเหมาะ สำหรับบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ประเภทโปรแกรมต่าง ๆ  ฮาร์ดดิสก์เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภท จานแม่เหล็ก  ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยความจุเป็นเมกะไบต์และกิกะไบต์แบ่งเป็น  3  ประเภทคือ
                - ฮาร์ดดิสก์ไอดีอี  ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้เพียง  2  เครื่อง 
จึงมีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ขึ้นเป็นฮาร์ดดิสก์อีไอดีอี  เพื่อลดข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไอดีอี 
ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นได้ถึง  4  เครื่อง  ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลหรือมีความจุได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
                - ฮาร์ดดิสก์ซีเรียวเอทีเอ  มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถถอดฮาร์ดดิสก์ได้ในขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์
                - ฮาร์ดดิสก์สกัสซีหรือเอสซีเอสไอ  เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหน่วยความจำในตัวเอง  ทำให้บันทึกและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ประเภทอื่น
            2. แผ่นดิสเกตต์หรือแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์  เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหลักการทำงานเหมือนกับฮาร์ดดิสก์  คือ  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทจานแม่เหล็ก  ภายนอกหุ้มด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน  เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์ซึ่งติดตั้งที่คอมพิวเตอร์
            3. แผ่นซีดี  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสำรองประเภทจานแม่เหล็ก สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า แผ่นดิสเกตต์  โดยแผ่นซีดีขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไปจะสามารถบันทึกข้อมูลได้  700  เมกะไบต์  แผ่นซีดีแบ่งตามลักษณะการบันทึกข้อมูลได้  2  ประเภท  ดังนี้
                - แผ่นซีดีอาร์  สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว  จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการ เปลี่ยนแปลง
                - แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว  มีลักษณะภายนอกเหมือนแผ่นซีดีอาร์  แต่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ ๆ ได้หลายครั้ง
            4. แผ่นดีวีดี  พัฒนามาจากแผ่นซีดี  สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดี  คือ  บันทึกข้อมูลได้ถึง  4.7  กิกะไบต์

แผ่นซีดีสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ทั้งเครื่องบันทึกข้อมูลซีดีและดีวีดี
แต่แผ่นดีวีดีสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้กับเครื่องบันทึกข้อมูลดีวีดีเท่านั้น

            5. ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน  เนื่องจากมีราคาถูก  เหมาะแก่ การพกพา  บันทึกซ้ำได้หลายครั้ง  และบันทึกข้อมูลได้มาก  ทั้งนี้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลสามารถเลือกได้ ตามความต้องการ  ซึ่งมีตั้งแต่  64  เมกะไบต์  ถึงความจุที่ระดับหน่วยเป็นกิกะไบต์

หน่วยเก็บข้อมูลสำรองรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า  Auxiliary  Storage  หมายถึง
หน่วยเก็บช่วยซึ่งมีความหมายเดียวกับ  Secondary  Storage
หรือหน่วยเก็บข้อมูลสำรองนั่นเอง