แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ความหมายและประเภทของข้อมูลและ
สารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ
วิธีการประมวลผลข้อมูล
ระดับของสารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ข้อมูลดิจิทัล
ระบบเลขฐาน
การแปลงค่าเลขฐาน
โปรแกรม Calculator
การกระทำทางตรรกศาสตร
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
บทบาทของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยความจำ
หน่วยแสดงผล
แบบทดสอบหลังเรียน
 

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
           ในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง  ขนาดใหญ่  และทำงานได้อย่างจำกัด  ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก  มีขนาดเล็กลง  มีรูปทรงที่ทันสมัย  สวยงาม และสามารถทำงาน
ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้  ชิปที่อยู่ในหน่วยประมวลผลหรือซีพียู  ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
สูง  จะมีขนาดเล็กลงและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น  และยังการพัฒนาระบบการทำงานหรือการประมวลผลให้เป็นระบบ
การทำงานแบบขนาน  คือสามารถอ่านคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง  เพื่อตอบสนองการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน 
เรียกว่า  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบมัลติโพรเซสเซอร์  ซึ่งเหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและมีข้อมูลจำนวนมาก

เทคโนโลยีสื่อประสม
            เป็นการนำเสนอข้อมูลหรือสื่อในหลายรูปแบบพร้อม ๆ กัน  ได้แก่  การนำเสนอข้อมูลตัวอักษร  ข้อมูลเสียง
และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถแสดงข้อมูลในหลายรูปแบบพร้อม ๆ กันได้อย่าง
สวยงามและสมจริง  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อประสมให้สามารถส่งผ่านทางระบบเครือข่าย ได้รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น  ส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการทำงานและการเรียนรู้

การนำเทคโนโลยีสื่อประสมมาใช้ในคอมพิวเตอร์เริ่มต้นในปี  พ.ศ.2534
จากการพัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดวส์  3.0
เพื่อให้สามารถใช้งานข้อความและภาพนิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

อุปกรณ์พกพาและไร้สาย
            อุปกรณ์ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก  น้ำหนักเบา  และทนทานมาก  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อ ข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้โดยไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาน  อุปกรณ์พกพาและไร้สายที่ใช้งานแพร่หลาย ในปัจจุบันมีการทำงานด้วยสัญญานวิทยุ  นิยมใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  มีการใช้งาน ระบบบลูทูท  สำหรับส่งข้อมูลในระยะใกล้ ๆ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัญญาประดิษฐ์
            ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ  เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถและพฤติกรรมเลียน
แบบมนุษย์  รู้จักการใช้เหตุผล  และมีการเรียนรู้  ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น
 ปัญญาประดิษฐ์ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ  ดังนี้
                1. ภาษาธรรมชาติ  คือ  ภาษาธรรมดาที่มนุษย์ใช้งานในชีวิตประจำวัน  เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น
จึงมีผู้คิดค้นที่จะนำภาษาธรรมชาติมาใช้สั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เป็นเทคโนโลยีอื่น ๆ  เรียกว่า
กระบวนการภาษาธรรมชาติ  โดยมีหลักการทำงานแบบง่าย ๆ  คือ  แยกภาษาของมนุษย์ออกเป็นคำ ๆ
จากนั้นแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ  แล้วจึงโต้ตอบกลับมายังมนุษย์อีกครั้งด้วยภาษาของมนุษย์เอง
เช่น  การสั่งงานโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเสียง
                2. โครงข่ายประสาทเทียม  คือการสร้างคอมพิวเตอร์โดยจำลองวิธีการทำงานเหมือนสมองของมนุษย์ 
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำข้อมูล  ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถฟัง  อ่าน  และจำภาษามนุษย์ได้ 
เช่น  การวิเคราะห์และสร้างภาพเหมือนตามรูปพรรณคนร้าย
                3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ  คือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้เป็นระบบ สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา  โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาในสาขาวิชานั้น ๆ
ซึ่งจัดเก็บไว้ในรูปแบบของฐานความรู้
                4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์  คือ  การนำเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์มาประยุกต์ร่วมกับเครื่องจักร  เพื่อใช้ทำงาน
ต่าง ๆ แทนมนุษย์ที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ
                เทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารและรับข้อมูลสารสนเทศจากทุกสถานที่ได้สะดวกรวดเร็ว  และทันเวลา  ทำให้เกิดบิควิตัสเทคโนโลยี  สังคมยูบิคตัส  หรือยูบิคอมป์  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมของ
การสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมแห่งข้อมูลสารสนเทศ  โดยการนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง
และระบบเครือข่ายมาใช้ร่วมกัน  ทำให้เกิดจุดเด่นในการเชื่อมโยงผู้ใช้งานกับเครือข่ายในทุกสถานที่ 
นอกจากนี้ยังสร้างภาพการใช้งานที่ไม่จำกัดเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  ตู้เย็นอินเตอร์เน็ต  โทรทัศน์ดิจิทัล

ยูบิควิตัส  เป็นภาษาละติน  หมายถึง  อยู่ในทุกแห่งหรือมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของภาษาธรรมชาติให้ใช้กับภาษาไทย
แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก
เนื่องจากภาษาไทยมีลักษณะการเขียนที่เป็นรูปประโยค
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถแยกแยะเป็นคำ ๆ แล้วแปลความหมายได้