แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ความหมายและประเภทของข้อมูลและ
สารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ
วิธีการประมวลผลข้อมูล
ระดับของสารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ข้อมูลดิจิทัล
ระบบเลขฐาน
การแปลงค่าเลขฐาน
โปรแกรม Calculator
การกระทำทางตรรกศาสตร
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
บทบาทของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยความจำ
หน่วยแสดงผล
แบบทดสอบหลังเรียน
 


ข้อมูลดิจิทัล
         คอมพิวเตอร์รับข้อมูลจากผู้ใช้แล้วจะแปลงข้อมูลนั้นให้เป็นรูปแบบสัญาณดิจิทัล(สัญญาณไฟฟ้า)  แล้วจึงประมวลผลตามคำสั่งที่ได้รับ  จากนั้นจึงเปลี่ยนป็นข้อมูลรูปแบบสัญญาณดิจิตัลกลับมาให้อยู่ในรูปแบบ
ที่มนุษย์เข้าใจผ่านทางอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง

หน่วยของข้อมูล
          สัญญาณดิจิทัล  จะใช้หลักการของการปิดกระแสไฟฟ้า  แทนด้วยเลข  0  และการเปิดกระแสไฟฟ้า
แทนด้วยเลข  1  ซึ่งเป็นรหัสของเลขฐานสองที่ประกอบด้วยเลข  2  ตัว  คือ  0  และ  1  เมื่อนำเลขฐานสองมา
ประกอบกันเป็นชุดก็จะสามารถแทนเป็นรหัสที่มีความหมายต่อมนุษย์

หน่วยความจุของข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบันมีดังนี้
     บิต  เป็นหน่วยความจุของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด  คือ  สัญญาณไฟฟ้าเปิดหรือปิด  1  ครั้ง  แทนด้วยตัวเลข  0 
หรือ  1  มีอักษรย่อเป็น  b
    ไบต์  คือ  การนำตัวเลข  0  และ  1 มาเรียงต่อกัน  เพื่อแทนค่ารหัสตัวอักษร  โดยปกติจะต้องใช้จำนวน  8  บิต 
จึงจะสามารถแทนค่าได้  1  ตัวอักษร  มีอักษรย่อเป็น  B
     กิโลไบต์  คือ  การนำไบต์มารวมกันจำนวน  1,024  ไบต์  จะมีค่าเท่ากับ  1  กิโลไบต์  ซึ่งมีขนาดประมาณ  1  ย่อหน้าของกระดาษขนาด A4  มีอักษรย่อเป็น  KB
    เมกะไบต์  คือ  การนำกิโลไบต์มารวมกันจำนวน  1,024  กิโลไบต์  จะมีค่าเท่ากับ  1  เมกะไบต์  ซึ่งมีขนาด ประมาณเรื่องสั้น  1  เรื่อง  มีอักษรย่อเป็น  MB
     กิกะไบต์  คือ  การนำเมกะไบต์มารวมกันจำนวน  1,024  เมกะไบต์  จะมีค่าเท่ากับ  1  กิกะไบต์  ซึ่งมีขนาด
ประมาณข้อมูลที่บันทึกเต็มกระดาษขนาด  A4  ที่บรรจุอยู่เต็มหลังรถบรรทุก  มีอักษรย่อเป็น  GB
    เทราไบต์  คือ  การนำกิกะไบต์มารวมกันจำนวน  1,024  กิกะไบต์  จะมีค่าเท่ากับ  1  เทราไบต์  มีอักษรย่อเป็น
TB  ปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อบันทึกข้อมูลได้สูงสุดในหน่วยความจุนี้
     เพตาไบต์  เอ็กซาไบต์  เซ็ตตาไบต์  และโยตทาไบต์  เป็นหน่วยความจุของข้อมูลที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน
โดยมีอักษรย่อเป็น  PB , EB , ZB  และ YB  ตามลำดับ

    นอกจากนี้  เมื่อนำข้อมูลมาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการจัดระบบฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยมีการแทนค่าข้อมูลที่มีลักษณะเรียงลำดับจากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้

 บิต                             เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น  0  หรือ  1
ตัวอักษร                      กลุ่มของบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้  เช่น  รหัสแอสกี  8  บิต  แทนค่าตัวอักษร  1 ไบต์
เขตข้อมูลหรือฟิลด์    กลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
ระเบียนข้อมูล             โครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุหนึ่งชิ้น
แฟ้มข้อมูล                   ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
ฐานข้อมูล                     กลุ่มของตารางและความสัมพันธ์

รหัสแทนข้อมูล
            1. รหัสแอสกี  เป็นรหัสแทนข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด  โดยจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และมินิคอมพิวเตอร์  ด้วยการใช้เลขฐานสองจำนวน  8  หลัก  หรือ  8  บิต  แทนข้อมูล  1  ตัว  หรือ  1  ไบต์  ทำให้สามารถแทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด    หรือ  256  แบบ
            2. รหัสเอบซีดิค  นิยมใช้กับเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์  มีหลักการแทนข้อมูลคล้ายกับรหัสแอสกี
แต่แทนด้วยเลขฐานสองในตำแหน่งที่ต่างกัน
            3. รหัสยูนิโคด  เป็นรหัสชุดใหญ่ที่ถูกพัฒนาให้สามารถแทนตัวอักษรได้มากขึ้น  เพื่อใช้กับภาษา
ทางแถบเอเชีย  ซึ่งมีตัวอักษรจำนวนมากกว่าภาษาอังกฤษ  จึงจำเป็นต้องใช้รหัสแบบ  16  บิต  ทำให้สามารถ
แทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด   หรือ  65,536  แบบ  โดยรหัส  256  ตัวแรกจะมีลักษณะเดียวกับ
รหัสแอสกี  แต่จะเติม  0  ไว้ข้างหน้าจำนวน  8  บิต  เช่น  0111  0100  ในรหัสแอสกีแทน  t  เมื่อเปลี่ยนเป็น
รหัสยูนิโคดก็จะได้  0000  0000  0111  0100

อุปกรณ์บันทึกข้อมูลในปัจจุบันสร้างจากซิลิคอนหลอมเหลวบริสุทธิ์แล้วเฉือน
ให้อยู่ในลักษณะแผ่นบาง ๆ เรียกว่า  ชิป  (Chip) 
ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้จำนวนมหาศาล